สงครามโลกครั้งที่ 2
(World War II ค.ศ. 1939-1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นความขัดแย้งของประชาชาติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939
สิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 รวมเวลา 6 ปี
ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางและมากกว่าสงครามโลกครั้งที่
1 หลายเท่า
สาเหตุของสงคราม
1.
ลัทธิจักรวรรดินิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว
มหาอำนาจก็ยังแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมหรือขยายดินแดนด้วยการรุกรานอยู่อีก
โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอักษะ เช่น ญี่ปุ่นยึดครองแมนจูเรียใน ค.ศ. 1931
อิตาลียึดครองอะบิสซิเนียใน ค.ศ. 1935 และผนวกฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1
ก็ได้ผนวกออสเตรียและซูเดเทนใน ค.ศ. 1938 และผนวกโชโกสโลวะเกียใน ค.ศ. 1939
2.
ลัทธิชาตินิยม ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซาย ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler ค.ศ. 1934-1945) ผู้นำเยอรมนีหันไปใช้ลัทธินาซีเพื่อสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่
เช่นเดียวกับเบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini ค.ศ.
1922-1943) ผู้นำอิตาลีหันไปใช้ลัทธิฟาสซิสต์
ส่วนญี่ปุ่นต้องการสร้างวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพาเพื่อเป็นผู้นำในเอเชีย
นอกจากนี้ยังเกิดทฤษฎีชาตินิยมในเยอรมนีว่าด้วยความเหนือกว่าในทางเผ่าพันธุ์
ที่ทำให้ฮิตเลอร์เข้ากวาดล้างชาวยิว
3.
ลัทธินิยมทางทหาร
การแข่งขันกันสะสมกำลังและอาวุธเพื่อสร้างแสนยานุภาพทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ทำให้มหาอำนาจไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ใน ค.ศ. 1933
เยอรมนีได้ยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งทำไว้ในฐานะประเทศผู้แพ้สงคราม
แล้วเริ่มลงมือเกณฑ์ทหาร สร้างป้อมปราการสองฝั่งแม่น้ำไรน์
และปรับปรุงกองทัพทุกเหล่าจนมีกองทัพอากาศที่เกรียงไกร
นอกจากนี้เยอรมนียังสามารถสร้างอาวุธที่ทันสมัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
ได้อย่างรวดเร็ว
4.
มหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อักษะ (Axis) ประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศไปในทำนองเดียวกัน
คือ การรุกรานและขยายอำนาจกับฝ่ายพันธมิตร (Allies) ซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยตะวันตก
ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสพยายามใช้นโยบายเอาใจอักษะประเทศ (Appeasement
Policy) ซึ่งเป็นนโยบายที่อังกฤษและฝรั่งเศสผ่อนปรนตามข้อเรียกร้องต่างๆ
ของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามโดยยินยอมให้เยอรมนี
ผนวกออสเตรียและแคว้นซูเดเทนของเชโกสโลวะเกีย แต่นโยบายดังกล่าวทำให้อดอล์ฟ
ฮิตเลอร์ถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครองเชโกสโลวะเกียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939
ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องยกเลิกนโยบายผ่อนปรนแล้วหันมาดำเนินนโยบายประกันเอกราชให้แก่โปแลนด์เพื่อต่อต้านฮิตเลอร์จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่
2 ในที่สุดเมื่อเยอรมนีรุกรานโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เบนิโต มุสโสลินี
5. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ
องค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถหยุดยั้งการรุกรานของมหาอำนาจบางประเทศได้ เช่น
ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดครองแมนจูเรีย เยอรมนีเข้ายึดครองแคว้นไรน์
อิตาลีรุกรานอะบิสซิเนีย
และในเวลาต่อมาประเทศดังกล่าวได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งและเป็นผู้ริเริ่มของหลักการขององค์การสันนิบาตชาติ
แต่กลับไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การนี้
จึงทำให้องค์การสันนิบาตชาติไม่มีความเข้มแข็งเท่าที่ควร
สถานการณ์ของสงคราม
ยุทธภูมิในยุโรประหว่าง ค.ศ.
1939-1945
1. วิกฤติการณ์ก่อนเกิดสงครามโลก หลังจากที่เยอรมนีได้ละเมินสนธิสัญญาแวร์ซาย ใน ค.ศ. 1935
และเริ่มรุกรานประเทศต่างๆ โดยไม่มีผู้ขัดขวาง
รวมทั้งยังร่วมกับอิตาลีสนับสนุนฝ่ายชาตินิยมของนายพลฟรังโกในสงครามกลางเมืองของสเปน
อังกฤษและฝรั่งเศสตระหนักว่าเยอรมนีและอิตาลีต้องการทำสงครามแน่แล้วจึงได้เรียกระดมพล
2.
กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ทำให้เกิดสงครามโลก
เยอรมนีเรียกร้องขอฉนวนดานซิกคืนจากโปแลนด์และบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.
1939 อังกฤษเรียกร้องให้เยอรมนีถอนทหาร แต่เยอรมนีไม่ยอม
อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดขึ้น
3.
สงครามในทวีปยุโรป ในขณะที่กองทัพเยอรมันบุกเข้าไปในโปแลนด์จนถึงเมืองวอร์ซอ
สหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์ด้านตะวันออก รัฐบาลโปแลนด์ต้องยอมแพ้เมื่อวันที่
27 กันยายน ค.ศ. 1939 และถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
สหภาพโซเวียตได้ดินแดนทางตะวันออกไป ส่วนเยอรมนีก็ทำสงครามยึดครองประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์
ต่อจากนั้นจึงบุกเข้ายึดเนเธอร์แลนด์ เบลเยียมและฝรั่งเศส และยึดปารีสได้ในวันที่
14 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อิตาลีได้ส่งกองทัพโจมตีฝรั่งเศสทางด้านเทือกเขาแอลป์
หลังจากนั้นก็ได้มีการเซ็นสัญญาสงบศึกระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีและอิตาลีตามลำดับ
โดยดินแดนภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี
4.
สงครามระหว่างเยอรมนีกับอังกฤษ
เยอรมนีส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีอังกฤษระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 ถึง
เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941
อังกฤษต่อสู้อย่างเข้มแข็งและสามารถทำลายเครื่องบินของเยอรมนีได้
กองทัพเยอรมันยังไม่ทันบุกเกาะอังกฤษก็ได้เปลี่ยนเป้าหมายไปโจมตีสหภาพโซเวียต
5.
สงครามในคาบสมุทรบอลข่าน
เยอรมนีต้องการจะตัดเส้นทางของอังกฤษด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงบุกลงมาในคาบสมุทรบอลข่าน
ฮังการีและโรมาเนียเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941
ต่อมากองทัพเยอรมันเข้าสมทบกองทัพอิตาลี และยึดครองประเทศกรีซได้ ทหารอังกฤษ
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ต้องถอยออกจากประเทศกรีซและเกาะครีซตามลำดับ
6.
สงครามระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต แม้ทั้งสองประเทศจะตกลงทำสัญญาการค้าและสัญญาไม่รุกรานกันใน
ค.ศ. 1939 แต่เมื่อเกิดสงครามแล้วสหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้าไปในประเทศโปแลนด์
ยึดครองดินแดนและตั้งฐานทัพแถบทะเลบอลติก กองทัพเยอรมันจึงเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่
22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ยึดโปแลนด์ส่วนที่สหภาพโซเวียตครอบครองไว้ได้
และยังตีได้แคว้นยูเครน เมืองเคียฟ และรัสเซียภาคใต้
รุกต่อไปยังเมืองเลนินกราดและกรุงมอสโก แต่กองทัพสหภาพโซเวียตสมารถต้านทานไว้ได้
7.
สงครามในทวีปแอฟริกา สงครามในทวีปแอฟริกา เป็นรบระหว่างอังกฤษกับอิตาลี
เมื่ออิตาลีแพ้เยอรมนีจึงส่งกองทัพมาช่วย ส่วนอังกฤษได้กองทัพหนุนเช่นเดียวกัน
และนับแต่ ค.ศ. 1943 กองทัพฝ่ายพันธมิตรประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสก็โจมตีจนกองเยอรมันต้องยอมแพ้ที่ตูนิเซีย
ค.ศ. 1943
8.
พันธมิตรยกพลขึ้นบกอิตาลี เมื่อได้ชัยชนะที่ตูนิเซียแล้ว
กองทัพฝ่ายพันธมิตรก็ยกพลขึ้นบกที่อิตาลียึดได้เกาะซิซิลี
และรุกข้ามไปยังสมุทรอิตาลีและบังคับให้มุสโสลินีลาออก รัฐบาลใหม่ของอิตาลีได้ดำเนินการติดต่อขอสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร
แต่เยอรมนีเข้าต้านทานกองทัพฝ่ายพันธมิตร
และสนับสนุนให้มุสโสลินีจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอีก
แต่ในที่สุดมุสโสลินีก็ถูกชาวอิตาลีจับประหารชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945
กองทัพฝ่ายพันธมิตรเข้ายึดครองเมืองมิลาน ตูริน และแคว้นตริเอสเต (Trieste) ดังนั้นสงครามในประเทศอิตาลีจึงได้สงบลง
9.
กองทัพพันธมิตรบุกยุโรปตะวันตก ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944
ซึ่งเป็นวันดีเดย์ กองทัพฝ่ายพันธมิตรในบังคับบัญชาของนายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (General Dwight D. Eisenhower ค.ศ. 1890-1969) ก็ได้ยกพลขึ้นที่หาดนอร์มองดีในฝรั่งเศสและสามารถรุกข้ามแม่น้ำไรน์เข้าสู้ดินแดนเยอรมนี
ขณะนั้นกองทัพสหภาพโซเวียตก็บุกผ่านประเทศโปแลนด์เข้ามาบรรจบกับฝ่ายพันธมิตรในดินแดนเยอรมนีพร้อมกัน
เยอรมนีจึงยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
กองทัพฝ่ายพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งนอร์มองดี ประเทศฝรั่งเศส
10.
สงครามด้านเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อสงครามทางด้านยุโรปเกิดขึ้น
ญี่ปุ่นก็เตรียมการจะทำสงครามในเอเชีย เพื่อขจัดอำนาจของชาติมหาอำนาจตะวันตก
เมื่อฝรั่งเศสประกาศยอมแพ้เยอรมนีใน ค.ศ. 1940
ญี่ปุ่นก็ส่งทหารเข้ายึดอินโดจีนของฝรั่งเศสอันประกอบด้วยลาว กัมพูชา และเวียดนาม
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และจีนต่อต้านญี่ปุ่นโดยวิธีทางเศรษฐกิจ คือ
งดจำหน่ายสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสงครามให้ญี่ปุ่น วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941
ญี่ปุ่นยกพลโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) ในฮาวาย รวมทั้งเกาะฮ่องกงของอังกฤษ
หมู่เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา และเมืองโกตาบาฮารูในแหลมมลายู
โดยมิได้ประกาศสงครามล่วงหน้า หลังจากนั้นก็เคลื่อนทัพบุกยึดประเทศต่างๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยด้วยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปพม่า คาบสมุทรมลายู
และสิงคโปร์ หลังจากญี่ปุ่นยึดสิงคโปร์ได้แล้วก็ใช้เป็นฐานทัพส่งกองเรือรบปละเรือดำน้ำไปทำสงครามกับอังกฤษในมหาสมุทรอินเดีย
สามารถจมเรือรบอังกฤษในบริเวณมหาสมุทรอินเดียได้เป็นจำนวนมาก
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม
ค.ศ. 1942
สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งกำลังรบมาทางด้านตะวันออกและสามารถทำสงครามเอาชนะญี่ปุ่นได้ เหตุการณืสำคัญคือกองกำลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกาก็สามารถไปโจมตีญี่ปุ่นเอาชนะศึกที่อิโวะจิมะและโอกินะวะ
ใน ค.ศ. 1945 ได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนน แต่ญี่ปุ่นไม่ปฏิบัติตาม
สหรัฐอเมริกาจึงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมะในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.
1945 เป็นผลให้เมืองพินาศและมีคนเสียชีวิตประมาณ 80,000 คน และในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาก็ทิ้งระเบิดลูกที่ 2
ที่เมืองนะงะซะกิ ญี่ปุ่นจึงยอมจำนนในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945
และลงนามในสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 สงครามโลกด้านแปซิฟิกกฌได้สิ้นสุดลง
ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการยึดครองและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นให้เป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ฮิโรชิมะ ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู
ผลของสงคราม
1.ด้านการเมือง
ประเทศผู้แพ้สงครามต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
เสียดินแดน เสียอาณาคม และต้องยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่างๆ
ที่ฝ่ายชนะวางเงื่อนไขไว้ให้ปฏิบัติ
ชาติมหาอำนาจดั้งเดิมอ่อนแอลง
ชาติอาณานิคมจึงพากันเรียกร้องเอกราช จนได้เอกราชในที่สุด
และเมื่อชาติมหาอำนาจดั้งเดิมอ่อนแอลงทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกลายเป็นชาติมหาอำนาจแทน
2. ด้านสังคม
ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
และมีผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยสงคราม เช่น บาดเจ็บ ทุพพลภาพ เป็นโรคจิต ขาดอาหาร
หายสาบสูญ
3. ด้านเศรษฐกิจ
ทั้ง 2
ฝ่ายใช้เงินในการทำสงครามรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเมื่อบ้านเมืองเสียหายอย่างหนัก ทำให้เกิดปัญหา เช่น การว่างงาน เศรษฐกิจตกต่ำ
ทดสอบหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น