วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อารยธรรมโรมัน


                ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่ออารยธรรมโรมัน

                  อารยธรรมโรมันกำเนิดที่คาบสมุทรอิตาลี  ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา และเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือซึ่งกั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดนส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขาแอเพนไนน์ซึ่งเป็นแกนกลางของคาบสมุทร ส่วนบริเวณที่ราบมีน้อยและมีที่ราบน้อย จึงทำให้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆ พื้นที่การเกษตรมีไม่มากนัก แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น บริเวณดังกล่าวไม่สามารถรองรับการเกษตรที่ขยายตัวได้ จึงเป็นสาเหตุที่ชาวโรมันขยายดินแดนไปยังดินแดนอื่นๆ





     อารยธรรมโรมันสมัยประวัติศาสตร์

ชาวโรมันมีตามเชื่อตามตำนาน กรุงโรมสถาปนาขึ้นเนินเขา 7 ลูกเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่งชื่อ โรมูลุส  และเรมุส แต่ตามหลักฐานทางดันโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยืนยันว่าบริเวณที่ตั้งของกรุงโรมในปัจจุบันมีพวกอิทรัสกัน พวกอิทรัสกันมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์ และเมื่ออพยพเข้ามาในแหลมอิตาลีก็ได้นำเอาความเชื่อในศาสนาของกรีก ศิลปะการเกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา อักษรกรีก การหล่อทองแดงและบรอนซ์ การปกครองเเบบนครรัฐ การวางผังเมือง การสร้างอาวุธเเละอื่น ๆ เข้ามาเผยแพร่ในคาบสมุทรอิตาลี
            นอกจากพวกอิทรัสกันแล้ว ยังมีผู้อพยพจากเผ่าอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ พวกละตินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมันในแถบบริเวณที่ราบละติอุม ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ ต่อมาได้ตกอยู่ใต้การปกครองของพวกอิทรัสกัน เมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกจากบัลลังก์ และจัดตั้งโรม จัดตั้งสาธารณรัฐ แต่อำนาจการปกครองยังเป็นของชนชั้นสูงที่เรียกว่า พวกพาทริเชียน เท่านั้น ส่วนราษฎรสามัญ ที่เรียกว่า เพลเบียนไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งต้านการเมืองและสังคม
            ในช่วง 494 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเพลเบียนได้มีสิทธิออกกฎหมายร่วมกับพวกพาทริเซียน เป็นการออกประมวลกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ เพื่อใช้บังคับให้ชาวโรมันทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบเดียวกันของกฎหมายและสังคม กฎหมายสิบสองโต๊ะนับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือกันว่าเป็นแม่บทของกฎหมายโลกตะวันตก
            ระหว่าง 264-146 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันทำสงครามพิวนิก (Punic Wor) 3 ครั้งกับพวกคาร์เทจที่ตั้งอาณาจักรในบริเวณภาคเหนือของทวีปแอฟริกา สาเหตุมาจากการเเย่งผลประโยชน์ในเกาะซิซิลี คาร์เกจเป็นฝ่ายพ่ายเเพ้และหมดอำนาจไป เป็นการเปิดโอกาสให้โรมันได้เป็นเจ้าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น โดยผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์ จนมีฐานะมั่งคั่งเเละมีอำนาจปกครองดินแดนต่างๆ
เมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้ยุติการปกตรองในระบอบสาธารณรัฐและหันมาใช้การปกครองแบบจักรวรรดิอย่างเป็นทางการ ออคเทเวียน ได้รับสมญานามว่า ออกัสตัส และสภาโรมันยกย่องให้เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน โรมันเจริญถึงขีดสูงสุดและสามารถขยายอำนาจและอิทธิพลไปทั่วทั้งทวีปยุโรป เอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ มีการสร้างถนนเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้าและทหาร ตลอดจนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในแขนงต่างๆ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 คริสต์ศาสนาเเผ่ขยายไปทางทิศตะวันตกของป่าเลสไตน์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของโรม จักรวรรดิโรมันต่อต้านคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรง จนถึง ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช  ประกาศกฤษฎีกาให้เสรีภาพในการนับถือคริสต์ศาสนา ทำให้คริสต์ศาสนาได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย มีผลให้จักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิของคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันอ่อนแอลงตามลงตามลำดับ จนในที่สุดกรุงโรมถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันหรือเผ่ากอท เข้าปล้นสะดมหลายครั้ง จักรพรรดิของโรมันองค์สุดท้ายถูกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ใน ค.ศ.476 จึงถือกันว่าในปีดังกล่าวเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันและประวัติศาสตร์สมัยโบราณแขนงต่าง ๆ




มรดกของอารยธรรมโรมัน

สถาปัตยกรรมโรมัน

           สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐานและวัสดุที่ใช้สร้างอาคาร ได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไปสู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้งกากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาวโรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไรนัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อนๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะเป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่างๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัดสถาปัตยกรรมโรมันในช่วง พ.ศ.600-873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ อำนาจของจักรวรรดิโรมันอาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตกแต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถันมีการ สร้างลานชุมนุมชาวเมืองโรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ อาคารที่พักอาศัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อนหินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม




ตัวอย่างสถาปัตยกรรมโรมัน




โรมันฟอรัม

โรมันฟอรัมเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างในสมัยโรมันเรืองอำนาจทั้งธุรกิจ การเมือง และศาสนา ตัวหมู่อาคารฟอรัมทั้งหมดใช้เวลาก่อสร้างในช่วงเวลายาวนานถึง 900 ปี เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ที่ชุมนุมทางการเมืองแต่เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมลง ฯลฯ โรมันฟอรัมก็ถูกทิ้งร้างจนถึงยุคกลางก็กลายเป็นเพียงซากปรักหักพังที่มีหญ้าขึ้นรกเรื้อและมีการนำฝูงสัตว์เข้ามาเลี้ยง ปล่อยให้กินหญ้า ชิ้นส่วนอิฐและหินอ่อนถูกรื้อนำไปสร้างบ้านเรือน จนกระทั่งเข้ายุคเรอเนสซองส์ซึ่งผู้คนหันมาให้ ความสนใจกับศิลปินวิทยาการของโรมันกันอีก โรมันฟอรัมก็ได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และเป็น แรงบันดาลใจให้กับศิลปินหลายต่อหลายคน เริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดีและการขุดค้นศึกษาต่าง ๆ ก็ยังคงดำเนินอยู่จนทุกวันนี้


น้ำพุเทรวี่

น้ำพุเทรวี่ ตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปปั้นหินอ่อนของเนปจูน เทพเจ้าแห่งน้ำของชาวโรมันโบราณ ใครมาเมืองนี้ก็ต้องไปโยนเหรียญที่น้ำพุแห่งนี้เพื่อให้ได้กลับมาอีกครั้ง เคล็ดลับในการโยนคือให้หันหลังให้น้ำพุ ถือเหรียญด้วยมือขวา แล้วโยนข้ามไหล่ซ้าย เขาว่ากันว่าถ้าโยนลง 2 ครั้งจะได้แฟนเป็นชาวอิตาลี ใครอยากได้หนุ่มหรือสาวอัซซูรี่เป็นแฟนก็หาโอกาสไปโยนเหรียญที่น้ำพุแห่งนี้ได้



โคลอสเซียม

โคลอสเซียม เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส (Titus) ในศริตส์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน 


วิหารแพนธีออน

มหาวิหารแพนธีออน สิ่งก่อสร้างอย่างเดียวที่หลงเหลืออยู่โดยสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดจากอาณาจักรโรมัน มหาวิหารแพนธีออนสร้างโดย Marcus Agrippa ซึ่งเป็นลูกเขยของจักรพรรดิ์ Augustus เมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์กาล


มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม วัดนี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งของคริสตชนนิกายโรมันคาทอริกที่ตั้งวัดเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของนักบุญปีเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์ของพระเยซู นักบุญปีเตอร์เดิมเป็นบาทหลวงองค์แรกของอันติโอก ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรมเพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญปีเตอร์ ถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่วัดนี้
ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อปีวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนวัดแบบคอนแสตนติน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626

แต่เดิมนั้นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเตอร์รัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีบัลลังก์บิชอปปีเตอร์ (Cathedra Petri) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญปีเตอร์เองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอึกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอร์เรนโซ เบร์นินิ 



ประติมากรรม
    ประติมากรรมของโรมัน รับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็งมาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือ ประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์  มีรายละเอียดของเรื่องราวเหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด
จำแนกออกได้เป็น 2 แบบ

1. นิยมทำภาพนูนสูงประดับอนุสาวรีย์หรือบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ประดับตัวสถาปัตยกรรม

ชิ้นที่เก่าแก่มากคือ The Altar of Peace แท่นบูชาสันติภาพสร้างโดยจักรพรรดิ์ ออกุสตุส ราว 13-9 BC เป็นอนุสรณ์การลับคืนสู่โรมหลังจากการรบในต่างแดน ลักษณะเป็นวิหารเล็กๆ รอบๆกำแพงทั้งภายนอกและภายในมีประติมากรรมแบนประดับอยู่ แสดงเรื่องราวของจักรพรรดิกับข้าราชบริพาร ประติมากรรมประดับอนุสรณ์สถานอีกชิ้นคือภาพประดับประตูชัยติตุส ทำขึ้นราว ค.ศ. 81 บนถนน เวีย สาครา ตัวประตูชัยเป็นแบบคอรินเธียน ลักษณะทั่วไปคล้ายการสร้างโคลอสเซียม ประติมากรรมเป็นแบบนูนสูงแสดงเหตุการณ์ของติตุสที่ได้ชัยชนะจากพวกยิว




2. ทำรูปเหมือนบุคคล


ซึ่งนิยมมาตั้งแต่สมัยเป็นสาธารณรัฐแล้ว มาถึงสมัยจักรวรรดินิยมก็ยังคงนิยมอยู่แต่ต่างกันบ้างในรายละเอียดคือสมัย สาธารณรัฐนิยมทำภาพเหมือนจริงของบุคคลให้มีความเหมือนตามจริงมากที่สุดแต่ใน สมัยจักรวรรดินิยมชอบให้แสดงออกถึงลักษณะอันสง่างาม เป็นอุดมคติ โดยเฉพาะรูปชนชั้นสูงจะดูสง่างามราวเทพเจ้าของกรีก เป็นการผสมผสานระหว่างความเหมือนจริง Realism กับความเป็นอุดมคติ Idealism ส่วนรูปประชาชนทั่วไปก็ยังคงมีลักษณะแบบเหมือนจริงเช่นเดิม






วรรณกรรม
    งานประพันธ์ของโรมันมีวัตถุประสงค์แตกต่างต่างจากกรีก กรีกจะมีสีสันและจินตนาการ แต่ของโรมันจะประพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรับใช้จักรวรรดิของตน จะสดุดีความยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน
1.งานเขียนของเวอร์จิล (Virgil 70-19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เรื่อง อีนีอิค มหากาพย์ว่าด้วยความเป็นมาของโรม  
2.งานประพันธ์ร้อยแก้วของซิเซโร (Cicero 106-43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ข้อเขียนทางการเมือง จริยธรรมในรูปแบบของสุนทรพจน์และจดหมาย งานประพันธ์ของเขายังใช้โวหารที่พิเศษ คือ ใช้โวหารเสียดสีประชดประชัน   

    นอกจากนี้ยังมีงานประวัติศาสตร์เน้นความยิ่งใหญ่ของโรมเช่น งานเขียนเรื่อง บันทึกสงครามกอล ของจูเลียส ซีซาร์ (100-44ปีก่อนคริสต์ศักราช) งานเขียนเกี่ยวกับอารยชน เรื่อง ชนเผ่าเยอรมัน ของแทกซิตัส




วิศวกรรม
    การสร้างถนนคอนกรีต โดยถนนทั้ง 2 ข้างจะมีท่อระบายน้ำ

และมีหลักบอกระยะทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานส่งน้ำ (aqueduct) ขนาดสูงใหญ่จำนวนมากเพื่อนำน้ำวันละ 300 ล้านแกลลอนหรือประมาณ

8,505 ล้านลิตร จากภูเขาไปยังเมืองเพื่อให้ชาวเมืองได้ใช้




สะพานส่งน้ำ (aqueduct)




สภาพถนนภายในกรุงโรมที่อดีตมีมากจนมีคำกล่าวว่า ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม

ปฏิทิน
           ปฏิทินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีที่มาจากปฏิทินของชาวโรมันเมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นปฏิทินแบบสุริยคติ โดยชาวโรมันประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่นอีกทีหนึ่ง กษัตริย์โรมันในยุคแรกกำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน สันนิษฐานว่าอิงตามเลขฐาน 10 โดยให้เดือน มี.ค. (March) เป็น เดือน 1 ทั้งนี้ เพราะชาวโรมันให้ความเคารพ มาร์ส” (Mars) เทพเจ้าแห่งสงครามมากเป็นพิเศษ และในแต่ละเดือนจะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้ายคือเดือน ธ.ค. (December) รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน
       
       ทว่าเมื่อชาวโรมันใช้ปฏิทินดังกล่าวไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าฤดูกาลเริ่มไม่ตรงตามปฏิทิน จนในสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (Numa Pompilius) (700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือเดือน ม.ค. (January) และ ก.พ. (February) รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน

      
       กระทั่งในสมัยกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) (45 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ปรับเปลี่ยนวันในแต่ละเดือนเสียใหม่ ให้เดือน มี.ค. มี 31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วันสลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน แต่ถ้าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน พร้อมทั้งเปลี่ยนให้เดือน ม.ค. ซึ่งตั้งชื่อเดือนตามเทพเจ้า เจนัส” (Janus) ผู้มีสองพักตร์ และมีหน้าที่เฝ้าประตูสวรรค์ ให้เป็นเดือนแรกของปี และเรียกปฏิทินนี้ว่า ปฏิทินจูเลียน” (Julian calendar) รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 5 (เดือน ก.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก ควินติลิส” (Quintilis) เป็น จูไล” (July) ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์
       
       ต่อมากษัตริย์ออกัสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ ต้องการให้มีชื่อตัวเองในปฏิทินเหมือนผู้เป็นบิดาบุญธรรม จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 6 (เดือน ส.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก เซกติลิส” (Sextilis) เป็น ออกัส” (August) และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือนของพ่อด้วย โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน และนี่คือที่มาของปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา แต่ได้มีการชำระปฏิทินในสมัยพระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 (Gregory XIII) เมื่อประมาณปี 1582 เนื่องจากวันในปฏิทินเริ่มเกินไปจากความเป็นจริง และเรียกว่า ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียนที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้


กฎหมาย
   กฎหมายโรมันนับเป็นมรดกทางการปกครองสำคัญที่ชาวโรมันทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง กฎหมายฉบับแรก คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งประกาศใช้ในปี 450 ก่อนคริสต์ศักราช กฎหมายนี้ลักษณะที่เข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรง เมื่อโรมันขยายตัวเป็นจักรวรรดิ มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายและขนบประเพณีเฉพาะ ชาวโรมันได้รวบรวมกฎหมายที่ได้พบเห็นนี้มาปรับปรุงให้เข้ากับกฎหมายเดิมจน ได้กฎหมายที่เหมาะสมกับจักรวรรดิที่ประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม กฎหมายนี้เรียกว่า จุส เจนติอุม (jus gentium) ซึ่งหมายถึงกฎหมายของชนทั้งหลายในช่วงปลายจักรวรรดิโรมันได้มีการชำระรวบรวมประมวลกฎหมายโดยอาศัยเอกสาร ต่างๆ เป็นหลัก เช่น มติสภาเซเนท พระราชกฤษฎีกาของพระจักรพรรดิ หลักปรัชญา และข้อคิดเห็นในกฎหมายที่มีชื่อ เป็นต้น กฎหมายฉบับที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน วางอยู่บนพื้นฐานของกฎธรรมชาติ (Natural Laws) ถือว่ากฎหมายคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น กฎหมายจึงสามารถใช้คลอบคลุมมนุษย์ทุกคนและทุกรัฐอย่าเท่าเทียมกัน หลักการสำคัญของกฎหมายโรมันคือให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของบุคคล ทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายไม่มีการทรมานผู้ต้องหาเพื่อให้รับ สารภาพ รวมทั้งถือว่าผู้ต้องหาคือผู้บริสุทธิ์ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ความ ผิดได้ แม้แต่ทาสก็ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลักษณะทาส ทาสมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้านาย กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและมีระบบของโรมันเหล่านี้กลายเป็นแม่แบบของ กฎหมายประเทศต่างๆ
กฎหมาย 12 โต๊ะ
     โรมันมีกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรกกฎหมายไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์ การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามวินิจฉัยของผู้พิพากษาซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ดังนั้นพวกสามัญชนจึงเรียกร้องให้เขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้แกะสลักบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่นเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Twelve Tables) ความโดดเด่นของกฎหมายโรมันคือ ความทันสมัย เพราะมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบจักรวรรดิและสภาพแวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้ตุลาการชาวโรมันยังมีส่วนทำให้เกิดการยอมรับหลักการพื้นฐานของกฎหมายว่า ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่างปฏิบัติต่อมาถึงปัจจุบันคือ ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีการกระทำความผิด
–  โต๊ะที่ 1: เกี่ยวกับหมายเรียกตัวให้ไปศาล (Vocatio in jus)
–  โต๊ะที่ 2: กระบวนการพิจารณาคดี รวมทั้งการเรียกพยาน
โต๊ะที่ 3: ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ (ที่อนุญาตให้เจ้าหนี้สามารถกักขัง หรือฆ่าลูกหนี้ได้)
โต๊ะที่ 4: สิทธิของหัวหน้าครอบครัว (การขายคนในครอบครัวสามครั้งติดต่อกันจะถือเป็นการปลดปล่อยบุคคลนั้นจากอำนาจการดูแลของหัวหน้าครอบครัว )
โต๊ะที่ 5: การสืบทอดมรดก และการดูแล (เป็นการแสดงเจตนาของหัวหน้าครอบครัวเกี่ยวกับทรัพย์สิน และผู้ดูแล เกี่ยวกับการตกทอดทรัพย์สินไปยัง)
โต๊ะที่ 6: ความเป็นเจ้าของ และการครอบครอง
โต๊ะที่ 7: อสังหาริมทรัพย์ (Real Property)
โต๊ะที่ 8: ละเมิด (Delicta) (อนุญาตให้สามารถทำการแก้แค้น ได้ในกรณีที่มีผู้มาทำร้ายตนยกเว้นจะมีการเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้)
โต๊ะที่ 9: กฎหมายมหาชน
โต๊ะที่ 10: กฎหมายศาสนา (ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับพิธีศพ)

โต๊ะที่ 11-12: ส่วนเพิ่มเติมต่าง ๆ เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างชนชั้นอภิชน กับสามัญชน หรือ การฟ้องคดีนายทาสในกรณีที่ทาสไปกระทำละเมิด (Noxalis actio)













ทำแบบทดสอบกันดีกว่า



อ้างอิง
-     https://panupong088.wordpress.com
- หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6  สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบ เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เรียกว่า วันอะไร   ก.       กบฏบวรเดช ข.       วันมหาวิปโยค ค.       การรัฐประหาร ...