วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับพม่า เวียดนามและลาว ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม อังกฤษและฝรั่งเศส จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่รัฐชาติสมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การก่อตั้ง  
รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกกฎหมายตราสามดวงประมวลกฎหมายใหม่ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ กรมกลาโหมปกครองทางใต้ กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราชซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พม่าซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328 ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ การรุกรานเวียดนาม
การรุกรานเวียดนาม
ใน พ.ศ. 2319 เมื่อกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงียนและประชากรท้องถิ่นเป็นอันมาก เหงียน อั๊ญ (Nguyễn Ánh) พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ทรงหนีข้ามแม่น้ำมายังสยาม ขณะที่ลี้ภัยในสยาม เหงียน อั๋นห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับกบฏเต็ยเซินออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่วางพระองค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนด้านกำลังพลและกำลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. 2326

กลาง พ.ศ. 2327 เหงียน อั๊ญ พร้อมกับกองทัพสยาม 20,000-50,000 นาย และเรือ 300 ลำ เคลื่อนผ่านกัมพูชา ทางตะวันออกของโตนเลสาบ และแทรกซึมแคว้นอันนัมซึ่งเพิ่งถูกผนวกล่าสุด ทหาร 20,000 นายถึงเกียนเซียง (Kien Giang) และอีก 30,000 นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เกิ่นเทอ (Cần Thơ) ปีเดียวกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซึ่งอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหารสยามกระทำทารุณต่อประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเวียด ทำให้ประชาชนท้องถิ่นหันไปสนับสนุนเตยเซิน

เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคลื่อนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้ำเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลางแม่น้ำบางเกาะ เผชิญกับกำลังอื่นฝั่งเหนือ พร้อมกำลังเสริมทางเรือทั้งสองฝั่งของที่ตั้งทหารราบ

เช้าวันที่ 19 มกราคม เหงวียนเหวทรงส่งกำลังทางเรือขนาดเล็ก ใต้ธงสงบศึก เพื่อลวงให้ฝ่ายสยามเข้าสู่กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายครั้ง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าทำลายแนวของสยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันตั้งตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกทำลายสิ้น แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกทำลาย และมีกองทหารดั้งเดิมเพียง 2,000-3,000 นายที่รอดชีวิตหลบหนีกลับข้ามแม่น้ำไปในสยามได้

สันติภาพ
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 100 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม

อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครองปีนัง และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้งสิงคโปร์ ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ขอโทษ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2367 กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ใน พ.ศ. 2368 อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2369 สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลดการผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น

กบฏเจ้าอนุวงศ์ของลาวพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2370 ซึ่งหลังจากนั้นสยามได้ทำลายกรุงเวียงจันทน์ และดำเนินการถ่ายโอนประชากรแบบบังคับขนานใหญ่จากลาวมายังภาคอีสานปัจจุบันที่ครอบครองแน่นหนากว่า และแบ่งแยกเมืองลาวเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อป้องกันการก่อการกำเริบอีก ใน พ.ศ. 2385-2388 สยามทำสงครามกับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้สยามปกครองกัมพูชาได้รัดกุมขึ้น

จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1840 เป็นที่ประจักษ์ว่า เอกราชของสยามอยู่ในอันตรายจากประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งระหว่างอังกฤษกับจีนใน พ.ศ. 2382-2385 ใน พ.ศ. 2393 อังกฤษและอเมริกาส่งคณะทูตมายังกรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ยุติการจำกัดการค้าทั้งหมด จัดตั้งรัฐบาลแบบตะวันตกและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองของตน รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านี้ ทิ้งให้ผู้สืบราชสมบัติอยู่ในสถานการณ์อันตราย

ในทางเศรษฐกิจ นับแต่ก่อตั้งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ่อค้าจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ถูกขับไล่ออกไปโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกเหนือจากพ่อค้า ชาวจีนที่เป็นชาวนาก็เข้ามาแสวงโชคไม่หยุดหย่อนในราชอาณาจักร ผู้ปกครองสมัยนี้ต้อนรับชาวจีนเพราะเป็นแหล่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ่อค้าเชื้อสายจีนบางคนได้กลายมาเป็นข้าราชสำนึกถือตำแหน่งสำคัญ วัฒนธรรมจีน เช่น วรรณกรรม ได้รับการยอมรับและสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสยามกับจักรวรรดิจีนนั้นเข้มแข็ง ซึ่งรับประกันโดยคณะทูตบรรณาการ ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ชาวจีนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเกิดใหม่ของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์



 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ การทำให้ทันสมัย

การทำให้ทันสมัย
เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2394 ทรงถูกกำหนดให้ช่วยสยามให้รอดพ้นจากการครอบงำอาณานิคมโดยทรงบังคับให้คนในบังคับทันสมัย แม้พระองค์จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชในทางทฤษฎี แต่พระราชอำนาจของพระองค์มีจำกัด หลังจากออกผนวชนาน 27 ปี พระองค์จึงขาดฐานในหมู่เจ้านายที่ทรงอำนาจ และไม่อาจดำเนินระบบรัฐสมัยใหม่ตามพระประสงค์ได้ ความพยายามแรกของพระองค์ในการปฏิรูปเพื่อสถาปนาระบบการปกครองใหม่และยกสถานภาพของทาสสินไถ่และสตรีไม่สัมฤทธิ์ผล

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับการบุกรุกของตะวันตกในสยาม อันที่จริง พระองค์และข้าราชบริพารนิยมอังกฤษอย่างแข็งขัน ใน พ.ศ. 2398 มีคณะทูตอังกฤษ นำโดย เซอร์จอห์น เบาริง ผู้ว่าราชการฮ่องกง เดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานครเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทันที โดยได้รับการสนับสนุนจากการข่มขู่ใช้กำลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมยอมรับข้อเรียกร้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งจำกัดอัตราภาษีขาเข้าที่ร้อยละ 3 กำจัดการผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ ไม่นาน ชาติตะวันตกอื่น ๆ ก็ได้เรียกร้องและได้สัมปทานที่คล้ายกัน

ไม่นาน พระองค์ก็ทรงตระหนักว่า ภัยคุกคามต่อสยามแท้จริงนั้นมาจากฝรั่งเศส มิใช่อังกฤษ อังกฤษสนใจในประโยชน์พาณิชย์ แต่ฝรั่งเศสสนใจสร้างจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสยึดครองไซ่ง่อนใน พ.ศ. 2402 และ พ.ศ. 2410 ได้สถาปนารัฐในอารักขาเหนือเวียดนามตอนใต้และกัมพูชาตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหวังว่าอังกฤษจะปกป้องสยามหากพระองค์พระราชทานสัมปทานเศรษฐกิจตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ในรัชกาลต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวังของพระองค์เป็นเพียงภาพลวงตา แต่ก็เป็นจริงที่อังกฤษมองสยามเป็นรัฐกันชนที่มีประโยชน์ระหว่างพม่าและมลายูของอังกฤษกับอินโดจีนฝรั่งเศส

การปฏิรูป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2411 และสืบราชบัลลังก์ต่อโดยเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ วัย 15 ชันษา เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกมาอย่างสมบูรณ์ ในตอนแรก รัชสมัยของพระองค์ถูกครอบงำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษนิยม แต่เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระองค์ก็ทรงเข้าปกครองโดยตรง พระองค์ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ระบบศาลและสำนักงบประมาณอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงประกาศว่า ความเป็นทาสจะค่อย ๆ ถูกเลิกไปและจำกัดพันธะหนี้สิน ช่วงแรก เจ้านายและผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมพระองค์อื่นสามารถขัดขวางวาระการปฏิรูปของพระมหากษัตริย์ได้ แต่เมื่อเจ้านายรุ่นเก่าถูกแทนที่ด้วยเจ้านายรุ่นใหม่และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การขัดขวางก็จางลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพันธมิตรอันทรงพลังในพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลังปัจจุบัน) พระองค์แรก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงจัดระเบียบรัฐบาลภายในและการศึกษา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศกว่า 38 ปี เมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสด็จเยือนยุโรปเพื่อทรงศึกษาระบบรัฐบาล ในการถวายความเห็น พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งการปกครองแบบรัฐสภา สำนักงานตรวจสอบบัญชีและกระทรวงธรรมการ (ดูแลการศึกษา) สถานะกึ่งปกครองตนเองของเชียงใหม่สิ้นสุดลง และกองทัพถูกจัดระเบียบใหม่และทำให้ทันสมัย

พ.ศ. 2436 เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในอินโดจีนใช้ข้อพิพาทพรมแดนเล็กน้อยเพื่อปลุกปั่นวิกฤตการณ์ เรือปืนฝรั่งเศสปรากฏขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และเรียกร้องให้โอนดินแดนลาวที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขออังกฤษ แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษกราบทูลพระองค์ให้ระงับด้วยเงื่อนไขใดก็ตามที่พระองค์จะทรงได้รับ และพระองค์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำตาม ท่าทีเดียวของอังกฤษคือ ความตกลงกับฝรั่งเศสรับประกันบูรณภาพของสยามส่วนที่เหลือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สยามยอมยกการอ้างสิทธิ์เหนือรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าแก่อังกฤษ

อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสยังคงกดดันสยาม และใน พ.ศ. 2449-2450 ก็ได้ก่อวิกฤตการณ์ขึ้นอีกหน หนนี้สยามจำต้องโอนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและรอบจำปาศักดิ์ทางตอนใต้ของลาว ตลอดจนกัมพูชาตะวันตก ให้อยู่ในการควบคุมของฝรั่งศส อังกฤษเข้าไกล่เกลี่ยเพื่อกันมิให้ฝรั่งเศสระรานสยามอีก แต่ใน พ.ศ. 2452 สยามจำต้องจ่ายราคาเป็นการยอมรับอธิปไตยของอังกฤษเหนือไทรบุรี กลันตัน ปะลิสและตรังกานูภายใต้สนธิสัญญาอังกฤษสยาม พ.ศ. 2452 "ดินแดนที่เสียไป" ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ที่ขอบเขตอิทธิพลของสยามและไม่เคยกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามอย่างรัดกุมอีกเลย แต่ถูกบังคับให้สละการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนเหล่านี้เป็นการทำให้พระมหากษัตริย์และประเทศอัปยศ และเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิกฤตการณ์เหล่านี้ถูกรัฐบาลที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการถือสิทธิ์ของตนต่อตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน การปฏิรูปดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งอิงความสัมพันธ์ของอำนาจเป็นรัฐชาติรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยใหม่ ขบวนการดังกล่าวเพิ่มพูนขึ้นภายใต้รัชสมัยพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งล้วนแต่ได้รับการศึกษาในยุโรปทั้งสิ้น ทางรถไฟและสายโทรเลขเชื่อมจังหวัดที่แต่ก่อนเคยห่างไกลและกึ่งปกครองตนเอง สกุลเงินถูกผูกติดกับมาตรฐานทองคำและระบบการจัดเก็บภาษีสมัยใหม่แทนที่การรีดภาษีตามอำเภอใจและราชการแรงงานอย่างในอดีต ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การขาดแคลนข้าราชการที่ผ่านการฝึกฝน และจำต้องจ้างชาวต่างชาติหลายคนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนใหม่และมีการผลิตบัณฑิตออกมา จนถึง พ.ศ. 2453 หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว อย่างน้อยสยามได้กลายมาเป็นประเทศกึ่งสมัยใหม่ และยังหนีการปกครองแบบอาณานิคมต่อไป


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ การกลายเป็นชาติสมัยใหม่

การกลายเป็นชาติสมัยใหม่
หนึ่งในการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 คือ การนำกฎหมายการสืบพระราชสันตติวงศ์แบบยุโรปมาใช้ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรส จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อมา พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยทหารแซนเฮิสต์ และที่ออกซฟอร์ด ปัญหาหนึ่งของสยาม คือ ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างพระราชวงศ์ที่มีแนวคิดแบบตะวันตกกับชนชั้นสูงและประชาชนที่เหลือของประเทศ ต้องใช้เวลาอีก 20 ปี การศึกษาแบบตะวันตกจึงขยายไปยังข้าราชการส่วนที่เหลือและกองทัพ อันเป็นแหล่งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้

สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปทางการเมืองอยู่บ้าง แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งทรงเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและทรงแต่งตั้งพระประยูรญาติดำรงตำแหน่งในทุกหน่วยงานของรัฐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีการศึกษาแบบตะวันตก ทรงทราบว่า ส่วนที่เหลือของชาติใหม่นี้ไม่อาจถูกตัดออกจากรัฐบาลได้ตลอดไป แต่พระองค์ไม่ศรัทธาในประชาธิปไตยแบบตะวันตก พระองค์ทรงปรับการสังเกตความสำเร็จของพระมหากษัตริย์อังกฤษในการปกครองอินเดีย โดยทรงปรากฏพระองค์แก่สาธารณะบ่อยครั้งขึ้นและทรงริเริ่มพระราชพิธีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี พระองค์ยังดำเนินแผนการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยต่อจากพระราชชนก มีการยกเลิกพหุสามีภริยา ริเริ่มการศึกษาขั้นประถมแบบบังคับ และใน พ.ศ. 2459 มีการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมศึกษา ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแหล่งเพาะกลุ่มปัญญาชนใหม่ของสยาม

กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองหลวงของชาติมากขึ้นทุกที รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มโครงการพัฒนาทั่วประเทศหลายอย่าง แม้จะประสบปัญหาด้านการเงิน มีถนน สะพาน ทางรถไฟ โรงพยาบาลและโรงเรียนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศด้วยงบประมาณแห่งชาติจากกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งอุปราชที่เพิ่งตั้งใหม่ถูกแต่งตั้งไปประจำมณฑลเทศาภิบาล เป็นผู้แทนของพระมหากษัตริย์คอยกำกับเรื่องการปกครองในจังหวัดต่าง ๆ

พระองค์ยังได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า ซึ่งเป็นองค์การกำลังกึ่งทหารของสยามที่มีการผสมรวม "คุณลักษณะที่ดี" เข้าเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ของชาติ พระองค์ยังทรงจัดตั้งสาขาเยาวชนซึ่งดำรงมาถึงปัจจุบันเป็นคณะลูกเสือแห่งชาติ พระองค์ทรงใช้เวลามากในการพัฒนาขบวนการดังกล่าว ด้วยทรงเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างพันธะระหว่างพระองค์กับพลเมืองที่จงรักภักดี เหล่าอาสาสมัครที่ตั้งใจสละชีพเพื่อชาติและพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังเป็นหนทางหนึ่งที่พระองค์จะเลือกและให้เกียรติแก่ผู้ที่พระองค์โปรด ขบวนการกึ่งทหารดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่หายไปเมื่อถึง พ.ศ. 2470 แต่มีการฟื้นฟูและวิวัฒนามาเป็นกองอาสารักษาดินแดน หรือเรียก ลูกเสือชาวบ้าน

รูปแบบรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแตกต่างจากรัฐบาลในพระราชชนก ช่วงต้นรัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ใช้คณะของพระราชชนกและกิจวัตรประจำวันของรัฐบาลยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ฉะนั้นกิจการประจำวันที่กำลังดำเนินอยู่ส่วนมากจึงอยู่ในมือของผู้มีประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ทำให้สยามก้าวหน้า เช่น การพัฒนาแผนแห่งชาติให้การศึกษาแก่ประชากรทั้งหมด การจัดตั้งคลินิกที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษฟรี และการขยายทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ตำแหน่งอาวุโสค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพรรคพวกของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึง พ.ศ. 2458 คณะรัฐมนตรีครึ่งหนึ่งเป็นหน้าใหม่ ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นการเข้ามาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) แทนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลอย่างเป็นทางการว่าสุขภาพไม่ดี แต่อันที่จริงเป็นเพราะการไม่ลงรอยกับพระมหากษัตริย์
ใน พ.ศ. 2460 สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี โดยหลักเพื่อให้เป็นที่พอใจของอังกฤษและฝรั่งเศส การมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเชิงสัญลักษณ์ของสยามทำให้ได้ที่นั่งในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงใช้โอกาสนี้อภิปรายเรื่องการยกเลิกสนธิสัญญาเก่าสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการฟื้นฟูอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของสยาม สหรัฐอเมริกาตกลงยกเลิกสนธิสัญญาเหล่านั้นใน พ.ศ. 2463 ขณะที่ฝรั่งเศสและอังกฤษชะลอออกไปกระทั่ง พ.ศ. 2468 ชัยชนะนี้ทำให้พระมหากษัตริย์ได้รับความนิยมบ้าง แต่ความนิยมในพระองค์ได้ลดลงไปจากความไม่พอใจในประเด็นอื่น เช่น ความฟุ่มเฟือย ซึ่งกลายมาเป็นที่สังเกตได้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงหลังสงครามส่งผลกระทบต่อสยามใน พ.ศ. 2462

พระองค์ไม่มีทายาทที่เป็นโอรส ฉะนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อ พ.ศ. 2468 ด้วยพระชนมายุเพียง 44 พรรษา สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ในสภาพที่อ่อนแอแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา

การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราช
แตกต่างจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ่านเอกสารสำคัญของรัฐแทบทั้งหมดที่ผ่านมาทางพระองค์อย่างขันแข็ง ภายในครึ่งปี มีรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง 12 คน เหลือเพียง 3 คน ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ในแง่หนึ่ง การแต่งตั้งนี้ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่อีกแง่หนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณถึงการหวนคืนสู่คณาธิปไตยโดยราชวงศ์ ชัดเจนว่า พระองค์ทรงต้องการแสดงถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนกับรัชกาลที่ 6 ที่ถูกทำให้เสียความน่าเชื่อถือ และตัวเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญเหมือนจะถูกชี้นำโดยพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูรัฐบาลแบบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มรดกเริ่มต้นที่พระองค์ทรงได้รับจากพระเชษฐา คือ ปัญหาชนิดที่กลายมาเรื้อรังในรัชกาลที่ 6 ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เศรษฐกิจ การเงินของรัฐอยู่ในความยุ่งเหยิง งบประมาณติดลบอย่างหนัก และบัญชีของพระมหากษัตริย์เต็มไปด้วยหนี้สินและธุรกรรมที่น่าสงสัย และการที่ประเทศที่เหลือในโลกต่างประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มิได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เป็นนวัตกรรมเชิงสถาบันมีเจตนาเพื่อฟื้นฟูความความเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล คณะองคมนตรีนี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีประสบการณ์และทรงพระปรีชาสามารถ รวมทั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานด้วย เจ้านายเหล่านี้ค่อย ๆ ถือสิทธิ์เพิ่มอำนาจโดยผูกขาดตำแหน่งรัฐมนตรีหลักทั้งหมด เจ้านายหลายพระองค์รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของพวกตนที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในรัชกาลก่อน แต่โดยทั่วไปไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก

ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันความสนพระทัยไปยังปัญหาอนาคตการเมืองในสยาม พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างอังกฤษ มีพระราชประสงค์ให้สามัญชนมีสิทธิ์มีเสียงในการงานของประเทศโดยการตั้งรัฐสภา มีพระบรมราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ทรงถูกที่ปรึกษาปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหารกรุงเทพมหานครก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ 49 คน และเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช 150 กว่าปี.


วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักร ธนบุรี



อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน 

การกอบกู้เอกราช

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้เป็น "เจ้า" และตีจนได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น

ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนบุรี

การรวมชาติและการขยายตัว
ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ 2 เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313

การสิ้นสุด
หลักฐานส่วนใหญ่กล่าวว่า เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักร ธนบุรี การปกครอง
การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ดัดแปลงมาจากกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของประชากร
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักร ธนบุรี เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ
ช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ืเนื่องจากขาดการทำนามานาน ราคาข้าวในอาณาจักรสูงเกือบตลอดรัชกาล ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงในตอนปลายรัชกาล จะมีเพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ในปี พ.ศ. 2312 ที่เกิดหนูระบาดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวมาให้แก่ราษฎรทั้งหลาย ช่วยคนได้หลายหมื่น ทั้งยังกระตุ้นให้ชาวบ้านทั้งหลายเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น

ผลดีประการหนึ่งของสงครามคราวเสียกรุงคือมีผู้คนอพยพมาสร้างความเจริญแก่ท้องที่อื่นให้ดีขึ้นกว่าสมัยอยุธยามาก กรุงธนบุรีได้กลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผาทำลายไปและเนื่องจากเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ตกเป็นของพม่าอย่างถาวร จึงทำให้เมืองถลางได้กลายเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับต่างชาติทางฝั่งทะเลอันดามันแทน โดยในสมัยอยุธยามีความสำคัญเป็นเมืองท่าลำดับสอง และมีดีบุกเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับเมืองไชยาและเมืองสงขลาที่เจริญก้าวหน้ากว่าในสมัยอยุธยาเดิม ชาวต่างชาติยังเขียนอีกว่า ท้องที่ใดมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ท้องที่แห่งนั้นย่อมเจริญแน่ เพราะคนจีนขยันกว่าคนไทย

ไทยมีรากฐานเศรษฐกิจดี มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อเกษตรกรรม เมื่อเว้นว่างจากศึกสงคราม เสบียงอาหารก็บริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ฝ่ายคนจีนและคนไทยบางส่วนได้เอาเงินและทองที่บรรพชนเก็บไว้ในพระพุทธรูปไป บ้างก็ทำลายพระพุทธรูปและพระเจดีย์เสียเพื่อเอาเงิน บาทหลวงคอร์ระบุว่า "การที่ประเทศสยามกลับตั้งแต่ได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงไม่มีเงินใช้เป็นแน่"

สังคม
ชนชั้นทางสังคม
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์
ขุนนาง
ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม[ต้องการอ้างอิง]
ทาส
หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบรากันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักร ธนบุรี การศึกษา

การศึกษา
สมัยกรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย การฟื้นฟูการศึกษาจึงทำได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรมความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาช่างฝีมือสำหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่างก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างภายในวัด สำหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กหญิง จะถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคมสมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้

วัฒนธรรม
รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น

วรรณกรรม
ถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2313 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชกาลพระองค์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้มี 4 ตอน แบ่งออกเป็น 4 เล่ม
นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น ส่วนในสมัยกรุงธนบุรี ประพันธ์เรื่อง ลิลิตเพชรมงกุฎ (พ.ศ. 2310-2322) และอิเหนาคำฉันท์ (พ.ศ. 2322)
พระยามหานุภาพ
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือ นิราศกวางตุ้ง แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2324
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี (2310-2325)
พ.ศ. 2310
พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2311
เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก
พ.ศ. 2312
ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2314
ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
พ.ศ. 2315
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2316
รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก
พ.ศ. 2317
รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมากมาย ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ
พ.ศ. 2318
พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือแต่ไม่สำเร็จ ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
พ.ศ. 2319
พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2321
โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางคืนไปในสมัยรัชกาลที่ 1
พ.ศ. 2323
เกิดจลาจลในเขมร โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระองค์เจ้าจุ้ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์
พ.ศ. 2324
ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร
พระยาสรรค์เป็นกบฏ
พ.ศ. 2325

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงธนบุรีสิ้นสุดลง

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรอยุธยา



อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติเช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐชานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม

มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาตัวนครปัจจุบันถูกตั้งขึ้นใหม่ห่างจากกรุงเก่าไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรอยุธยา

ประวัติ
การกำเนิด
การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดนั้น อธิบายว่า รัฐไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เจริญขึ้นมาจากราชอาณาจักรละโว้ (ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การควบคุมของขะแมร์) และอาณาจักรสุพรรณภูมิ แหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่า กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักลงไปทางใต้ ยังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา (Ayothaya) หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร นครใหม่นี้ถูกขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้

พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยังอินเดียและได้ลอกเลียนแบบผังเมืองอโยธยามาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง]

การขยายอาณาเขต

กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 อยุธยาก็ถูกพิจารณาว่าเป็น ชาติมหาอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ และได้เริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อย่างสุโขทัย กำแพงเพชรและพิษณุโลก ก่อนสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาโจมตีเมืองพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในอดีต อิทธิพลของอังกอร์ค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน

อย่างไรก็ดี ราชอาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงคราม ก็ได้ อย่างไรก็ดี มีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จำต้องปราบปราม

ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรมนิยม (meritocracy) อันรุนแรง ทำให้เมื่อใดก็ตามที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พลและยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอยด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบสมุทรมลายู ที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าสำคัญ ประชันความเป็นใหญ่ อยุธยาพยายามยกทัพไปตีมะละกาหลายครั้ง แต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์หมิงของจีน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิง ได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งของเขาขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีนไม่อาจยอมสูญเสียตำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่รัฐอื่น ๆ ภายใต้การคุ้มครองนี้ มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชอาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของราชวงศ์ตองอู หรือเรียกว่า "สงครามช้างเผือก"สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์บางส่วนถูกพาไปยังกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2112 ราชวงศ์ตองอูรุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช

การฟื้นตัว
หลังพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศเอกราชแก่กรุงศรีอยุธยาอีกสามปีให้หลัง อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของรัฐหงสาวดีหลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชาของราชวงศ์ตองอูได้ในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 จากนั้น อยุธยากลับเป็นฝ่ายบุกบ้าง โดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถึงกับรุกรานเข้าไปในพม่าลึกถึงตองอูใน พ.ศ. 2143 แต่ทรงถูกขับกลับมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของรัฐอังวะ อีกใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึดรัฐล้านนาและตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ. 2205-07 แต่ล้มเหลว

การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อยุธยาค่อย ๆ สูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก ผู้ว่าราชการท้องถิ่นใช้อำนาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มเกิดการกบฏต่อเมืองหลวงขึ้น

การล่มสลาย
หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ "ยุคทอง" สมัยที่ค่อนข้างสงบในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟู ยังมีสงครามกับต่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากราชวงศ์อลองพญาซึ่งได้ผนวกรัฐชานเข้ามาอยู่ในอำนาจ

ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้น สละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน

พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมีก็เพียงการนำไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น

แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน และเตรียมการกว่าสามปี มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการกองทัพรัฐอังวะได้ เนื่องจากมีกำลังมาก และต้องการทำลายศูนย์อำนาจอย่างอยุธยาลงเพื่อป้องกันการกลับมามีอำนาจ อีกทั้งกองทัพอังวะยังติดศึกกับจีนราชวงศ์ชิงอยู่เนือง ๆ หากปล่อยให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อต่อไปอีก ก็จะเป็นภัยแก่อังวะ และมีสงครามไม่จบสิ้น ในที่สุดกองทัพอังวะสามารถเข้าพระนครได้ในวันที่7 เมษายน พ.ศ. 2310

พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ

ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรอยุธยา การปกครอง

การปกครอง
ช่วงแรกมีการปกครองคล้ายคลึงกับในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรงในราชธานี หากทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง แต่รูปแบบนี้นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี

ต่อมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991-2031) ทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี สำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจากกิจการทหารอย่างชัดเจน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและสมุหกลาโหมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม

ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช

ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ พ.ศ. 2231-2246) ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ให้สมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดี ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301) ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดีด้วย

นอกจากนี้ ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2112-2133) ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พัฒนาการ
คนไทยไม่เคยขาดแคลนเสบียงอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ชาวนาปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของตนเองและเพื่อจ่ายภาษี ผลผลิตส่วนที่เหลืออยู่ใช้สนับสนุนสถาบันศาสนา อย่างไรก็ดี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตในการปลูกข้าวของไทย บนที่สูง ซึ่งปริมาณฝนไม่เพียงพอ ต้องได้รับน้ำเพิ่มจากระบบชลประทานที่ควบคุมระดับน้ำในที่นาน้ำท่วม คนไทยหว่านเมล็ดข้าวเหนียวที่ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์หลักในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือปัจจุบัน แต่ในที่ราบน้ำท่วมถึงเจ้าพระยา ชาวนาหันมาปลูกข้าวหลายชนิด ที่เรียกว่า ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมือง (floating rice) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ยาวเรียว ไม่เหนียวที่รับมาจากเบงกอล ซึ่งจะเติบโตอย่างรวดเร็วทันพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในที่ลุ่ม

สายพันธุ์ใหม่นี้เติบโตอย่างง่ายดายและอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินที่สามารถขายต่างประเทศได้ในราคาถูก ฉะนั้น กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบน้ำท่วมถึง จึงกลายเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ แรงงานกอร์เวขุดคลองซึ่งจะมีการนำข้าวจากนาไปยังเรือของหลวงเพื่อส่งออกไปยังจีน ในขบวนการนี้ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา หาดโคลนระหว่างทะเลและดินแน่นซึ่งถูกมองว่าไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ถูกถมและเตรียมดินสำหรับเพาะปลูก ตามประเพณี พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อประสาทพรการปลูกข้าว

แม้ข้าวจะอุดมสมบูรณ์ในกรุงศรีอยุธยา แต่การส่งออกข้าวก็ถูกห้ามเป็นบางครั้งเมื่อเกิดทุพภิกขภัย เพราะภัยพิบัติธรรมชาติหรือสงคราม โดยปกติขาวถูกแลกเปลี่ยนกับสินค้าฟุ่มเฟือยและอาวุธยุทธภัณฑ์จากชาวตะวันตก แต่การปลูกข้าวนั้นมีเพื่อตลาดภายในประเทศเป็นหลัก และการส่งออกข้าวนั้นเชื่อถือไม่ได้อย่างชัดเจน การค้ากับชาวยุโรปคึกคักในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อันที่จริง พ่อค้ายุโรปขายสินค้าของตน ซึ่งเป็นอาวุธสมัยใหม่ เช่น ไรเฟิลและปืนใหญ่ เป็นหลัก กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากป่าในแผ่นดิน เช่น ไม้สะพาน หนังกวางและข้าว โทเม ปิเรส นักเดินเรือชาวโปรตุเกส กล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่า กรุงศรีอยุธยานั้น "อุดมไปด้วยสินค้าดี ๆ" พ่อค้าต่างชาติส่วนมากที่มายังกรุงศรีอยุธยาเป็นชาวยุโรปและชาวจีน และถูกทางการเก็บภาษี ราชอาณาจักรมีข้าว เกลือ ปลาแห้ง เหล้าโรง (arrack) และพืชผักอยู่ดาษดื่น

การค้ากับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นชาวฮอลันดาเป็นหลัก ถึงระดับสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 กรุงศรีอยุธยากลายมาเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับพ่อค้าจากจีนและญี่ปุ่น ชัดเจนว่า ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามามีส่วนในการเมืองของราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาวางกำลังทหารรับจ้างต่างด้าวซึ่งบางครั้งก็เข้าร่วมรบกับอริราชศัตรูในศึกสงคราม อย่างไรก็ดี หลังจากการกวาดล้างชาวฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ค้าหลักของกรุงศรีอยุธยาเป็นชาวจีน ฮอลันดาจากบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ยังมีการค้าขายอยู่ เศรษฐกิจของอาณาจักรเสื่อมลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 18 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรอยุธยา พัฒนาการทางสังคมและการเมือง

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง

ขุนนางสมัยอยุธยาสวมลอมพอก
นับแต่การปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งลำดับชั้นทางสังคมและการเมืองที่จัดช่วงชั้นอย่างสูง ซึ่งแผ่ไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยขาดหลักฐาน จึงเชื่อกันว่า หน่วยพื้นฐานของการจัดระเบียบสังคมในราชอาณาจักรอยุธยา คือ ชุมชนหมู่บ้าน ที่ประกอบด้วยครัวเรือนครอบครัวขยาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่กับผู้นำ ที่ถือไว้ในนามของชุมชน แม้ชาวนาเจ้าของทรัพย์สินจะพอใจการใช้ที่ดินเฉพาะเท่าที่ใช้เพาะปลูกเท่านั้น ขุนนางค่อย ๆ กลายไปเป็นข้าราชสำนัก (หรืออำมาตย์) และผู้ปกครองบรรณาการ (tributary ruler) ในนครที่สำคัญรองลงมา ท้ายที่สุด พระมหากษัตริย์ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นพระศิวะ (หรือพระวิษณุ) ลงมาจุติบนโลก และทรงกลายมาเป็นสิ่งมงคลแก่พิธีปฏิบัติในทางการเมือง-ศาสนา ที่มีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก ในบริบทศาสนาพุทธ เทวราชาเป็นพระโพธิสัตว์ ความเชื่อในเทวราชย์ (divine kingship) คงอยู่ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ถึงขณะนั้น นัยทางศาสนาของมันจะมีผลกระทบจำกัดก็ตาม

เมื่อมีที่ดินสำรองเพียงพอสำหรับการกสิกรรม ราชอาณาจักรจึงอาศัยการได้มาและการควบคุมกำลังคนอย่างพอเพียงเพื่อเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นาและการป้องกันประเทศ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอยุธยานำมาซึ่งการสงครามอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากไม่มีแว่นแคว้นใดในภูมิภาคมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยี ผลแห่งยุทธการจึงมักตัดสินด้วยขนาดของกองทัพ หลังจากการทัพที่ได้รับชัยชนะในแต่ละครั้ง อยุธยาได้กวาดต้อนผู้คนที่ถูกพิชิตกลับมายังราชอาณาจักรจำนวนหนึ่ง ที่ซึ่งพวกเขาจะถูกกลืนและเพิ่มเข้าไปในกำลังแรงงาน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสถาปนาระบบกอร์เว (Corvée) แบบไทยขึ้น ซึ่งเสรีชนทุกคนจำต้องขึ้นทะเบียนเป็นข้า (หรือไพร่) กับเจ้านายท้องถิ่น เป็นการใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ไพร่ชายต้องถูกเกณฑ์ในยามเกิดศึกสงคราม เหนือกว่าไพร่คือนาย ผู้รับผิดชอบต่อราชการทหาร แรงงานกอร์เวในการโยธาสาธารณะ และบนที่ดินของข้าราชการที่เขาสังกัด ไพร่ส่วยจ่ายภาษีแทนการใช้แรงงาน หากเขาเกลียดการใช้แรงงานแบบบังคับภายใต้นาย เขาสามารถขายตัวเป็นทาสแก่นายหรือเจ้าที่น่าดึงดูดกว่า ผู้จะจ่ายค่าตอบแทนแก่การสูญเสียแรงงานกอร์เว จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 กำลังคนกว่าหนึ่งในสามเป็นไพร่

ระบบไพร่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากเจ้านายหรือขุนนางเบียดบังไพร่ไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร

ความมั่งคั่ง สถานภาพ และอิทธิพลทางการเมืองสัมพันธ์ร่วมกัน พระมหากษัตริย์ทรงแบ่งสรรนาข้าวให้แก่ข้าราชสำนัก ผู้ว่าราชการท้องถิ่น ผู้บัญชาการทหาร เป็นการตอบแทนความดีความชอบที่มีต่อพระองค์ ตามระบบศักดินา ขนาดของการแบ่งสรรแก่ข้าราชการแต่ละคนนั้นตัดสินจากจำนวนไพร่หรือสามัญชนที่เขาสามารถบัญชาให้ทำงานได้ จำนวนกำลังคนที่ผู้นำหรือข้าราชการสามารถบัญชาได้นั้น ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้นั้นเทียบกับผู้อื่นในลำดับขั้นและความมั่งคั่งของเขา ที่ยอดของลำดับขั้น พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักร ตามทฤษฎีแล้วทรงบัญชาไพร่จำนวนมากที่สุด เรียกว่า ไพร่หลวง ที่มีหน้าที่จ่ายภาษี รับราชการในกองทัพ และทำงานบนที่ดินของพระมหากษัตริย์

อย่างไรก็ดี การเกณฑ์กองทัพขึ้นอยู่กับมูลนาย ที่บังคับบัญชาไพร่สมของตนเอง มูลนายเหล่านี้จำต้องส่งไพร่สมให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพระมหากษัตริย์ในยามศึกสงคราม ฉะนั้น มูลนายจึงเป็นบุคคลสำคัญในการเมืองของอยุธยา มีมูลนายอย่างน้อยสองคนก่อรัฐประหารยึดราชบัลลังก์มาเป็นของตน ขณะที่การสู้รบนองเลือดระหว่างพระมหากษัตริย์กับมูลนายหลังจากการกวาดล้างข้าราชสำนัก พบเห็นได้บ่อยครั้ง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกำหนดการแบ่งสรรที่ดินและไพร่ที่แน่นอนให้แก่ข้าราชการแต่ละขั้นในลำดับชั้นบังคับบัญชา ซึ่งกำหนดโครงสร้างสังคมของประเทศกระทั่งมีการนำระบบเงินเดือนมาใช้แก่ข้าราชการในสมัยรัตนโกสินทร์

พระสงฆ์อยู่นอกระบบนี้ ซึ่งชายไทยทุกชนชั้นสามารถเข้าสู่ชนชั้นนี้ได้ รวมถึงชาวจีนด้วย วัดกลายมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวัฒนธรรม ระหว่างช่วงนี้ ชาวจีนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา และไม่นานก็เริ่มควบคุมชีวิตเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นช้านานอีกประการหนึ่ง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเป็นผู้รวบรวมธรรมศาสตร์ (Dharmashastra) ประมวลกฎหมายที่อิงที่มาในภาษาฮินดูและธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ธรรมศาสตรายังเป็นเครื่องมือสำหรับกฎหมายไทยกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการนำระบบข้าราชการประจำที่อิงลำดับชั้นบังคับบัญชาของข้าราชการที่มีชั้นยศและบรรดาศักดิ์มาใช้ และมีการจัดระเบียบสังคมในแบบที่สอดคล้องกัน แต่ไม่มีการนำระบบวรรณะในศาสนาฮินดูมาใช้

หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ตองอู พระองค์ทรงจัดการรวมการปกครองประเทศอยู่ใต้ราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาโดยตรง เพื่อป้องกันมิให้ซ้ำรอยพระราชบิดาที่แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายราชวงศ์ตองอูเมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระองค์ทรงยุติการเสนอชื่อเจ้านายไปปกครองหัวเมืองของราชอาณาจักร แต่แต่งตั้งข้าราชสำนักที่คาดว่าจะดำเนินนโยบายที่พระมหากษัตริย์ส่งไป ฉะนั้น เจ้านายทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในพระนคร การช่วงชิงอำนาจยังคงมีต่อไป แต่อยู่ใต้สายพระเนตรที่คอยระวังของพระมหากษัตริย์

เพื่อประกันการควบคุมของพระองค์เหนือชนชั้นผู้ว่าราชการใหม่นี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีกฤษฎีกาให้เสรีชนทุกคนที่อยู่ในระบบไพร่มาเป็นไพร่หลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งจะเป็นผู้แจกจ่ายการใช้งานแก่ข้าราชการ วิธีการนี้ให้พระมหากษัตริย์ผู้ขาดแรงงานทั้งหมดในทางทฤษฎี และเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของกำลังของทุกคน พระองค์ก็ทรงครอบครองที่ดินทั้งหมดด้วย ตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการ และศักดินาที่อยู่กับพวกเขา โดยปกติเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทในไม่กี่ตระกูลที่มักมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์โดยการแต่งงาน อันที่จริง พระมหากษัตริย์ไทยใช้การแต่งงานบ่อยครั้งเพื่อเชื่อมพันธมิตรระหว่างพระองค์กับตระกูลที่ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผลของนโยบายนี้ทำให้พระมเหสีในพระมหากษัตริย์มักมีหลายสิบพระองค์

หากแม้จะมีการปฏิรูปโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ตาม ประสิทธิภาพของรัฐบาลอีก 150 ปีถัดมาก็ยังไม่มั่นคง พระราชอำนาจนอกที่ดินของพระมหากษัตริย์ แม้จะเด็ดขาดในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถูกจำกัดโดยความหละหลวมของการปกครองพลเรือน อิทธิพลของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์อยู่ไม่เกินพระนคร เมื่อเกิดสงครามกับพม่า หัวเมืองต่าง ๆ ทิ้งพระนครอย่างง่ายดาย เนื่องจากกำลังที่บังคับใช้ไม่สามารถเกณฑ์มาป้องกันพระนครได้โดยง่าย กรุงศรีอยุธยาจึงไม่อาจต้านทานผู้รุกรานได้


แบบทดสอบ เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เรียกว่า วันอะไร   ก.       กบฏบวรเดช ข.       วันมหาวิปโยค ค.       การรัฐประหาร ...